วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ฝาไหล (ฝาไหลฯ)

ฝาไหล (ฝาไหลฯ)

ฝาหมายถึงระนาบแนวตั้งที่ปิดล้อมที่ว่างของห้องหรืออาคาร ไหลคือลักษณะที่เลื่อนไป ในเขตวัฒนธรรมล้านนาเรียกฝาผนังอาคารที่เลื่อนไปมาได้ว่าฝาไหล เป็นลักษณะที่ตรงกับการใช้คำในปัจจุบันที่ว่า บานเลื่อน ซึ่งบานเลื่อนในปัจจุบันมีใช้กับประตูและหน้าต่าง ส่วนฝาไหลตามที่มการใช้ใช้กับรูปแบบช่องหน้าต่างเป็นหลัก ยังพบว่ามีการใช้ฝาไหลในระนาบฝาระดับเหนือพื้นเรือนเล็กน้อย หรือระดับใต้หน้าต่าง โครงสร้างของฝาไหลประกอบไปด้วยระนาบฝาสองชั้น แต่ละชั้นมีการเจาะช่องเปิด การเลื่อนฝาสามารถควบคุมการเปิดปิดของช่องเปิดได้ คือ หากช่องของฝามาตรงกันก็จะเป็นการเปิด หากช่องของระนาบด้านในไม่ตรงกับช่องของระนาบผนังด้านนอกก็จะเป็นการปิด ชาวล้านนานิยมทำฝาไหลในส่วนที่ต้องการการระบายอากาศและต้องการปิดในบางครั้งเพื่อกันลมหนาวหรือพื่อความเป็นส่วนตัว ที่นิยมได้แก่ฝาไหลที่ผนังห้องครัว ฝาไหลในห้องนอน ฝาไหลที่ราวกันตกในส่วนชานและเติ๋น (ชานยกระดับใต้ชายคาหน้าห้องนอน) ปัจจุบันไม่นิยมทำฝาไหลในบ้านสมัยใหม่ เนื่องจากต้องใช้ไม้ที่มีราคาแพง และเป็นการปิดกั้นมุมมอง วัสดุกระจกจึงเป็นวัสดุใหม่ที่มาทดแทนประกอบกับเทคนิคการใช้เทคโนโลยีการติดตั้งบานหน้าต่างมีการพัฒนาไปดีขึ้น

ที่มา: เชาวลิต สัยเจริญ, ต้นฉบับร่างเพื่อส่งให้ ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำลงตีพิมพ์ในวารสาร มติชน รายสัปดาห์

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ8 ตุลาคม 2556 เวลา 09:07

    อยากทราบขั้นตอนคร่าวๆการทำครับ

    ตอบลบ