แต่เดิมวัดเจดีย์หลวง ชื่อ “โชติการามวิหาร” แปลว่า พระอารามที่มีแต่ความรุ่งเรืองสว่างไสว เนื่องจากเป็นสถานที่บรรจุพระเกศาธาตุ และพระธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเรื่องเล่ากันมาว่า ในกาลครั้งหนึ่ง เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมณะทูต 8 รูป ภายใต้การนำพระโสณะ และ พระอุตตะระ เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตสุวรรณภูมิ รวมทั้งภูมิภาคนี้ด้วยได้นำเอาพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ในองค์เจดีย์องค์เล็กสูง 3 ศอก ที่สร้างขึ้น ณ บริเวณอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์หลวงในปัจจุบัน ในเวลานั้นมีชายผู้หนึ่ง อายุ 120 ปี มีใจเลื่อมใส ได้แก้เอาผ้าห่มชุบน้ำมันจุดบูชา และได้ทำนายว่า ต่อไปในภายภาคหน้า ตรงนี้จะเป็นอารามใหญ่ชื่อโชติการาม พวกลัวะทั้งหลายที่เอาข้าวของบูชาพระธาตพระพุทธเจ้าได้ก่อเจดีย์หลังหนึ่งสูง 3 ศอกไว้เป็นที่สักการบูชา
นอกจากนี้ยังมีความหมายอีกนัยหนึ่งของคำว่า “โชติการาม” คือ เวลาที่มีการจุดประทีปโคมไฟไปประดับบูชาองค์พระธาตุเจดีย์หลวง จะปรากฏจะปรากฏแสงสีสว่างไสว มองเห็นองค์พระเจดีย์คล้ายเชิงเทียนที่มีเปลวไฟลุกโชติช่วงสว่างไสว ดูแล้วมีความงดงามยิ่งนัก สามารถมองเห็นได้แต่ไกล ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดเจดีย์หลวง” เนื่องจากในภาษาเหนือ หรือคำเมือง หลวงแปลว่า “ใหญ่” หมายถึง พระธาตุเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่
จุลศัก(พ.ศ. 1874)ราช 289 พระเจ้าแสนภู โปรดให้สร้างเมืองเชียงแสน และต่อมาอีก 4 ปี ทรงสร้างมหาวิหารขึ้นในท่ามกลางเมืองเชียงแสน คือวัดเจดีย์หลวงซึ่งอยู่ในวัดพระเจ้าตนหลวง เมืองเชียงแสน สมัยพระเจ้าแสนเมืองมาซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้ากือนา ขณะที่มีพระชนมมายุ 39 ปี พระองค์โปรดให้สร้างพระเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่อีกองค์ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จดีก็ทรงสวรรคต พระราชินีผู้เป็นอัครมเหสีของพระองค์ ได้โปรดให้ทำยอดพระธาตุเจดีย์หลวงจนแล้วเสร็จ
ปี พ.ศ. 2055 พระราชา (พระเมืองแก้ว) พร้อมด้วยชาวเมืองทั้งหลาย เอาเงินมาทำกำแพงล้อมพระธาตุเจดีย์หลวง 3 ชั้นได้เงิน 254 กิโลกรัม จากนั้นจึงได้เอาเงินมาแลกเป็นทองคำจำนวน 30 กิโลกรัม แล้วแผ่เป็นแผ่นทึบหุ้มองค์พระธาตุเจดีย์หลวง เมื่อรวมกับทองคำที่หุ้มองค์พระเจดีย์หลวงอยู่เดิม ได้น้ำหนักทองคำถึง 2,382.517 กิโลกรัม
ประมาณ พ.ศ. 2088 สมัยพระนางจิระประภามหาเทวี ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเชียงใหม่ จึงทำให้ยอดพระเจดีย์หลวงหักพังทลายลงมา หลังจากนั้นพระเจดีย์หลวงจึงถูกทิ้งให้ร้างมานานกว่า 400 ปี กระทั่งปี พ.ศ. 2423 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ได้รื้อพระวิหารหลังเก่าและสร้างวิหารหลวงขึ้นใหม่ด้วยไม้ทั้งหลัง
ช่วงปี พ.ศ. 2471-2481 สมัยพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ถือได้ว่าเป็นทศวรรษแห่งการบูรณะครั้งสำคัญของวัดพระเจดีย์หลวง ได้มีการรื้อถอนสิ่งปรักหักพัง แผ้วถางป่าที่ขึ้นปกคุลมโบราณสถานต่างๆ ออก แล้วสร้างเสริมเสนาสนขึ้นใหม่ให้เป็นวัดสมบูรณ์แบบในเวลาต่อมาพระเจดีย์หลวง ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2533 ใช้งบประมาณในการบูรณะถึง 35 ล้านบาท แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535
ช่องทางหนึ่งของการเผยแพร่และสื่อสารทางวิชาการด้านสถาปัตยกรรมล้านนา เชิญชวนท่านทั้งหลายมาร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนาสถาปัตยกรรมล้านนาของเราให้คงอยู่สืบไป อย่างน้อยให้หลักฐานที่คงอยู่ได้สะท้อนถึงความงดงามเยี่ยมยอดในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษล้านนา ที่สร้างสรรค์ขึ้นรับใช้ผู้คนและสังคม ซึ่งก่อร่างสานต่อกันมานับแต่โบราณ ถึงแม้นว่า อาณาจักรล้านนานั้นได้หลงเหลือแต่เพียงชื่อให้กล่าวอ้าง
วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553
หอคำ
หอคำ เป็นสิ่งที่ออกแบบปลูกสร้างโดยช่างชำนาญในวัง (สล่าหลวง) พบว่ามีการใช้คำนี้ในสายวัฒนธรรมไทยยวน ไตลื้อ ไตขึน และไตใหญ่ เป็นต้น เป็นอาคารที่ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย หรือ เป็นที่ว่าการและต้อนรับแขก ของพญา กษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงในราชสำนัก เท่าที่ผู้เขียนทราบ มีหอคำโบราณที่สร้างด้วยไม้ ที่หลงเหลืออยู่ในเชียงใหม่หนึ่งแห่ง คือ วิหารวัดพันเตาในเมืองเชียงใหม่ เป็นหอคำของพระอุปราชเจ้ามโหตรประเทศ มีหอคำผู้ครองนครลำปางอีกหนึ่งหลังที่ถูกรื้อไปสร้างใหม่ที่เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ และพบมีหอคำเก่าที่เมืองเชียงรุ่ง สิบสองปันนา ที่เหลือที่มีการเรียกแต่ต่างลักษณะ เป็นหอคำที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาไม่เกินร้อยกว่าปี ที่มีรูปแบบผสมผสานกับสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกและรัตนโกสินทร์ เช่น หอคำผู้ครองนครน่าน
หอคำสร้างด้วยไม้สักชั้นดี ยกพื้นอาคารสูงเหมือนกับเรือนและตำหนักทั่วไป เพื่อสุขะอนามัย และป้องกันสัตว์ร้ายและศัตรู หอคำของพญามหากษัตริย์ชั้นสูงจะมีขนาดใหญ่ และลดหลั่นขนาดกันลงมาตามฐานันดรศักดิ์ ใช่ว่าเชื้อพระวงศ์ทุกคนจะมีหอคำ เฉพาะผู้มีตำแหน่งสำคัญชั้นสูงเท่านั้นและต้องเป็นผู้ชาย คือ กษัตริย์ พระอุปราช และ เจ้าเมือง เป็นต้น หอคำเกี่ยวเนื่องกับอำนาจและบทบาททางการเมือง จึงมีการใช้งานเหมือนท้องพระโรงหรือที่ประชุม ปรึกษา ว่าราชการ ขณะเดียวกันเป็นที่อยู่อาศัยได้ด้วย
โครงสร้างของหอคำในภาคเหนือและที่สิบสองปันนาเท่าที่มีหลักฐาน พบว่ามีพื้นฐานของรูปแบบโครงสร้างมาจากเรือนพักอาศัย หากหอคำมีขนาดใหญ่จะใช้โครงสร้างแบบเทคนิคการถ่ายเทน้ำหนักที่เรียกว่า "ม้าต่างไหม" อันเป็นภูมิปัญญาเฉพาะด้านการก่อสร้างของชาวไตลื้อและไตยวนโบราณ หอคำที่เก่ามากๆ จะมีระนาบหลังคาจั่วเรียบง่ายไม่ซับซ้อน มีลักษณะเป็นจั่วแฝด คล้ายเรือนกาแล หอคำหลังยุคทองของล้านนาลงมา มีรูปแบบเหมือนวิหารแต่ยังมีการยกพื้นอาคารสูง วิหารวัดพันเตาในเมืองเชียงใหม่ที่เป็นหอคำเดิม เมื่อถูกนำมาถวายวัด มีการตัดเสาหอคำ และตั้งเสาบนฐานก่ออิฐสอปูน และขยับโครงสร้างผนังและหลังคา ทำให้สัดส่วนและลักษณะเป็นแปลงไป
วัดในวัฒนธรรมไตยวน ในพื้นที่ตอนล่างลุ่มน้ำโขงลงมา แต่โบราณมีส่วนประกอบสำคัญในผังเพียง เจดีย์ วิหาร และอุโบสถ โดยที่วิหารเป็นวิหารโถงไม่มีผนังปิดล้อมเหมือนปัจจุบัน อุโบสถไม่ได้มีทุกวัด และมีขนาดเล็ก ไม่ได้มีการใช้งานบ่อยเหมือนเช่นวิหาร เมื่อคนในชุมชนและเมืองมีจำนวนมากขึ้น ขนาดของอาคารต่างๆ จึงต้องขยายให้ใหญ่รองรับผู้คนได้ ศาลารายหรือศาลาบาตร จึงมีความจำเป็นและถูกสร้างขึ้นมาในสมัยหลัง ฉะนั้น หอคำและวิหารในสมัยโบราณจึงมีความแตกต่างกันที่ วิหารไม่มีผนัง ส่วนหอคำมีผนังแบบไม้ประกนที่เรียกว่า "ฝาตาผ้า" เนื่องด้วยหอคำมีการใช้งานโดยผู้คนมากกว่าและเกือบตลอดเวลา จึงต้องการความเป็นส่วนตัวและการป้องกันด้านภูมิอากาศ โดยเฉพาะฤดูหนาว การที่วิหารในสมัยหลังมีการก่อผนังโดยรอบ เพราะวิหารถูกนำมาใช้เป็นที่จำวัด จำพรรษาของภิกษุบางรูปในสมัยหลัง และเมื่อสังคมเปลี่ยนไป ความต้องการการเป็นส่วนตัว และความต้องการการป้องกันโจรโขมยของมีค่าต่างๆ ในวิหาร จึงถือเป็นความจำเป็น
หอคำสร้างด้วยไม้สักชั้นดี ยกพื้นอาคารสูงเหมือนกับเรือนและตำหนักทั่วไป เพื่อสุขะอนามัย และป้องกันสัตว์ร้ายและศัตรู หอคำของพญามหากษัตริย์ชั้นสูงจะมีขนาดใหญ่ และลดหลั่นขนาดกันลงมาตามฐานันดรศักดิ์ ใช่ว่าเชื้อพระวงศ์ทุกคนจะมีหอคำ เฉพาะผู้มีตำแหน่งสำคัญชั้นสูงเท่านั้นและต้องเป็นผู้ชาย คือ กษัตริย์ พระอุปราช และ เจ้าเมือง เป็นต้น หอคำเกี่ยวเนื่องกับอำนาจและบทบาททางการเมือง จึงมีการใช้งานเหมือนท้องพระโรงหรือที่ประชุม ปรึกษา ว่าราชการ ขณะเดียวกันเป็นที่อยู่อาศัยได้ด้วย
โครงสร้างของหอคำในภาคเหนือและที่สิบสองปันนาเท่าที่มีหลักฐาน พบว่ามีพื้นฐานของรูปแบบโครงสร้างมาจากเรือนพักอาศัย หากหอคำมีขนาดใหญ่จะใช้โครงสร้างแบบเทคนิคการถ่ายเทน้ำหนักที่เรียกว่า "ม้าต่างไหม" อันเป็นภูมิปัญญาเฉพาะด้านการก่อสร้างของชาวไตลื้อและไตยวนโบราณ หอคำที่เก่ามากๆ จะมีระนาบหลังคาจั่วเรียบง่ายไม่ซับซ้อน มีลักษณะเป็นจั่วแฝด คล้ายเรือนกาแล หอคำหลังยุคทองของล้านนาลงมา มีรูปแบบเหมือนวิหารแต่ยังมีการยกพื้นอาคารสูง วิหารวัดพันเตาในเมืองเชียงใหม่ที่เป็นหอคำเดิม เมื่อถูกนำมาถวายวัด มีการตัดเสาหอคำ และตั้งเสาบนฐานก่ออิฐสอปูน และขยับโครงสร้างผนังและหลังคา ทำให้สัดส่วนและลักษณะเป็นแปลงไป
วัดในวัฒนธรรมไตยวน ในพื้นที่ตอนล่างลุ่มน้ำโขงลงมา แต่โบราณมีส่วนประกอบสำคัญในผังเพียง เจดีย์ วิหาร และอุโบสถ โดยที่วิหารเป็นวิหารโถงไม่มีผนังปิดล้อมเหมือนปัจจุบัน อุโบสถไม่ได้มีทุกวัด และมีขนาดเล็ก ไม่ได้มีการใช้งานบ่อยเหมือนเช่นวิหาร เมื่อคนในชุมชนและเมืองมีจำนวนมากขึ้น ขนาดของอาคารต่างๆ จึงต้องขยายให้ใหญ่รองรับผู้คนได้ ศาลารายหรือศาลาบาตร จึงมีความจำเป็นและถูกสร้างขึ้นมาในสมัยหลัง ฉะนั้น หอคำและวิหารในสมัยโบราณจึงมีความแตกต่างกันที่ วิหารไม่มีผนัง ส่วนหอคำมีผนังแบบไม้ประกนที่เรียกว่า "ฝาตาผ้า" เนื่องด้วยหอคำมีการใช้งานโดยผู้คนมากกว่าและเกือบตลอดเวลา จึงต้องการความเป็นส่วนตัวและการป้องกันด้านภูมิอากาศ โดยเฉพาะฤดูหนาว การที่วิหารในสมัยหลังมีการก่อผนังโดยรอบ เพราะวิหารถูกนำมาใช้เป็นที่จำวัด จำพรรษาของภิกษุบางรูปในสมัยหลัง และเมื่อสังคมเปลี่ยนไป ความต้องการการเป็นส่วนตัว และความต้องการการป้องกันโจรโขมยของมีค่าต่างๆ ในวิหาร จึงถือเป็นความจำเป็น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)