วัดอุโมงค์ หรือ สวนพุทธธรรม สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๔ เป็นวัดเก่าที่พระเจ้ามังรายทรงโปรดให้สร้างขึ้น ณ บริเวณป่าไผ่ ๑๑ กอ เพื่อให้เป็นที่พำนักของพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสีจากลังกา ๕ รูป โดยยึดแบบแผนของลังกาเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งเขตพุทธาวาส สังฆวาส หรือ รูปทรงเจดีย์ ต่อมารัชกาลที่ ๙ พระเจ้ากือนา ได้ทรงบูรณะองค์เจดีย์ให้โตขึ้น และสร้างอุโมงให้เป็นที่พำนักของ
มหาเถรจันทร์ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๐-๑๙๓๐ แล้วทรงขนานนามวัดว่า วัดเวฬุกัฏฐาราม ซึ่งหมายถึงไผ่ ๑๑ กอ แต่ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกว่าวัดอุโมง ค์เถรจันทร์
สิ้นสมัยพระเจ้าติโลกราช วัดอุโมงค์ไม่ได้รับการดูแล หรือบูรณะเหมือนในสมัยก่อน ๆ วัดจึงกลายเป็นวัดร้างไป โดยไม่ปรากฏหลักฐานชัดว่าเริ่มร้างจริงๆ เมื่อไร
พ.ศ. ๒๔๙๐ มีพุทธมามกะกลุ่มหนึ่งร่วมกันก่อตั้งพุทธนิคมขึ้น และได้อาราธนาพุทธทาสภิกษุ แห่งสวน
โมกขพลาราม ขึ้นมาแสดงธรรมในเชียงใหม่ ๑๕ วัน และในปีรุ่งขึ้นชาวพุทธนิคมไปเชิญปัญญานันทภิกขุ มาประจำที่เชียงใหม่ และเทศนาโปรดชาวเมืองทุกวันอาทิตย์ และ
วันพระ ต่อมาชาวพุทธนิคม ได้พากันไปบูรณะบริเวณวัดอุโมงค์ ซึ่งร้างมานานนั้นขึ้นเป็น “สวนพุทธธรรม”
และเป็นสำนักงานของหนังสือพิมพ์ “ชาวพุทธ” วารสารรายเดือน ซึ่งเริ่มออกใน พ.ศ. ๒๔๙๕
ประวัติความเป็นมา
นอกจากบูรณะเจดีย์เก่า อุโมงค์เก่า พระพุทธรูปเก่า ให้คงสภาพดีดังเดิมแล้วยังได้สร้างศาลา กุฏิ ห้องสมุด และอาคารที่จำเป็นต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนวัดอุโมงกลับคืนสภาพเป็นวัดที่สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง
ที่มาของข้อมูล: ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และ ศูนย์วัฒนธรรม สถาบันราชภัฏจังหวัดเชียงใหม่. 2535. วัดสำคัญของนคร
เชียงใหม่. เล่ม 3. เชียงใหม่ : ส ทรัพย์การพิมพ์.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น